พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน


ความแตกต่างระหว่างตัวหนังใหญ่ชุดเดิมกับตัวหนังใหญ่ชุดใหม่
การทำตัวหนังใหญ่แต่เดิมนั้นนับเป็นศิลปะการช่างชั้นสูงอย่างหนึ่ง ที่ต้องใช้ฝีมืออันประณีต
ละเอียดอ่อน ความงามของตัวหนังขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวละครในภาพให้มีสัดส่วน และลวดลาย
ประดับประดาที่เหมาะสมกับรูป โดยเฉพาะตัวหนังใหญ่ที่เป็นภาพจับหรือภาพรบกัน ซึ่งมีตัวละคร
มากตัวในภาพเดียวกัน ช่างโบราณจะพยายามคิดประดิษฐ์ท่าที่รบพันกันอย่างสวยงาม และเร้าใจ
คนดู นอกจากการออกแบบตัวภาพแล้ว ยังต้องอาศัยความชำนาญของการสลักหรือปรุลายให้เป็น
รูปที่ต้องการ อันดับสุดท้ายก็คือ การระบายสีเพื่อให้เกิดสีสันสวยงามและยังเป็นการบ่งบอกถึงตัว ละครบางตัวอีกด้วย
ตัวหนังใหญ่ชุดใหม่ของวัดขนอน จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่จะทำตามแบบตัวหนังใหญ่
ชุดเดิมให้มากที่สุด โดยคณะผู้จัดทำโครงการหนังใหญ่ชุดใหม่ของวัดขนอนตามพระราชดำริฯ ได้สืบ
ค้นเทคนิคการทำตัวหนังใหญ่ชุดเดิมของช่างโบราณโดยเฉพาะในส่วนของการระบายสี แต่ก็ไม่สามารถ
ใช้วิธีเดียวกับช่างโบราณทั้งหมดได้ เนื่องจากข้อจำกัดบางประการทำให้ต้องใช้กรรมวิธีแบบใหม่เพื่อ
ให้ได้ผลตามที่ต้องการ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบเป็นขั้นตอนดำเนินการดังนี้
พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน แบบเรือนไม้ทรงไทยกว้าง 17 เมตร
ยาว 23 เมตร ภายในจัดแสดงตัวหนังใหญ่ชุดเดิมที่ถูกทำขึ้นในสมัย
หลวงปู่กล่อมและคณะ ที่ได้สร้างตัวหนังไว้หลายชุดจนสามารถใช้จัด
แสดงได้ครบทั้งเรื่องรามเกียรติ์ โดยภายในจะเป็นตัวหนังบางส่วน
จำนวนเพียง 50 ตัวเท่านั้น ไม่ได้จัดแสดงครบทั้ง 313 ตัว