

หนังใหญ่วัดขนอนมีตัวหนังอยู่ 2 ชุดคือ

ตัวหนังใหญ่ชุดเดิม
เป็นตัวหนังที่ทำขึ้นตั้งแต่สมัยที่ท่านพระครูศรัทธาสุนทร หรือหลวงปู่กล่อมจัดสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 จำนวนมากกว่า 400 ตัว ปัจจุบันคงเหลืออยู่ 313 ตัว และเก็บรักษาไว้ใน "พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน"

ตัวหนังใหญ่ชุดใหม่
เป็นตัวหนังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดทำขึ้นตามแบบตัวหนังใหญ่ชุดเดิมตั้งแต่ พ.ศ.2533 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2538 จำนวน 313 ตัว และได้พระราชให้วัดขนอนเพื่อไว้ใช้ในการแสดงหนังใหญ่โดยเฉพาะ
ความแตกต่างระหว่างตัวหนังใหญ่ชุดเดิม
กับตัวหนังใหญ่ชุดใหม่
การทำตัวหนังใหญ่แต่เดิมนั้นนับเป็นศิลปะการช่างชั้นสูงอย่างหนึ่ง ที่ต้องใช้ฝีมืออันประณีต
ละเอียดอ่อน ความงามของตัวหนังขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวละครในภาพให้มีสัดส่วน และลวดลาย
ประดับประดาที่เหมาะสมกับรูป โดยเฉพาะตัวหนังใหญ่ที่เป็นภาพจับหรือภาพรบกัน ซึ่งมีตัวละคร
มากตัวในภาพเดียวกัน ช่างโบราณจะพยายามคิดประดิษฐ์ท่าที่รบพันกันอย่างสวยงาม และเร้าใจ
คนดู นอกจากการออกแบบตัวภาพแล้ว ยังต้องอาศัยความชำนาญของการสลักหรือปรุลายให้เป็น
รูปที่ต้องการ อันดับสุดท้ายก็คือ การระบายสีเพื่อให้เกิดสีสันสวยงามและยังเป็นการบ่งบอกถึงตัว ละครบางตัวอีกด้วย
ตัวหนังใหญ่ชุดใหม่ของวัดขนอน จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่จะทำตามแบบตัวหนังใหญ่
ชุดเดิมให้มากที่สุด โดยคณะผู้จัดทำโครงการหนังใหญ่ชุดใหม่ของวัดขนอนตามพระราชดำริฯ ได้สืบ
ค้นเทคนิคการทำตัวหนังใหญ่ชุดเดิมของช่างโบราณโดยเฉพาะในส่วนของการระบายสี แต่ก็ไม่สามารถ
ใช้วิธีเดียวกับช่างโบราณทั้งหมดได้ เนื่องจากข้อจำกัดบางประการทำให้ต้องใช้กรรมวิธีแบบใหม่เพื่อ
ให้ได้ผลตามที่ต้องการ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบเป็นขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. การเขียนลายเส้น หรือภาพร่าง

ช่างจะร่างเส้นลงบนตัวหนัง โดยใช้พู่กัน
จุ่มสีขาวร่างลงไปบนผืนหนังที่ฟอกและทา
สีดำ(เขม่าดินหม้อ)แล้วหลังจากนั้นปรุหนังตามลายที่ร่างไว้
ตัวหนังใหญ่ชุดเดิม

นำกระดาษไขมาทาบลงบนตัวหนังต้นแบบเขียนลวดลาย
ด้วยปากการอตติงเบอร์ 0.5 เมื่อลอกลายเสร็จแล้ว
นำไปถ่ายเป็นพิมพ์เขียวเพื่อปิดลงบนแผ่นหนังด้วย
กาวน้ำและปรุลายต่อไป
ตัวหนังใหญ่ชุดใหม่
2. วัสดุที่ใช้ทำตัวหนัง

ช่างโบราณนิยมใช้หนังวัวมาทำตัวมากกว่าหนังควาย เพราะหนังวัวมีความละเอียด และนุ่มนวลกว่าหนังควาย
ตัวหนังใหญ่ชุดเดิม
แรกเริ่มได้สั่งซื้อแต่หนังวัวจากองค์การฟอกหนัง แต่มีข้อจำกัดเรื่องขนาด ไม่สามารถทำตัวหนัง
ที่มีขนาดใหญ่มากๆ ได้ ต่อมาจึงเปลี่ยนมาใช้
หนังควายแทน

ตัวหนังใหญ่ชุดใหม่
3. ขั้นตอนการเตรียมหนัง
ขั้นตอนในสมัยโบราณค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน
คือ เมื่อได้หนังวัวมาแล้วต้องนำมาหมักในน้ำ
ปูนขาว หรือน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 1 ชั่วโมง
แล้วนำไปขึงบนสะดึงไม้สี่เหลี่ยมจนแห้งดีจากนั้น
ใช้มีดขูดขนออกให้หมด นำไปหมักในน้ำที่ทำจากต้นลำโพงทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วันแล้วจึงนำ
หนังนั้นมาขึงบนสะดึงไม้อีกครั้งตากไว้ในร่ม
จนแห้งสนิทก็พร้อมสำหรับนำมาปรุลายได้
ตัวหนังใหญ่ชุดเดิม


ตัวหนังใหญ่ชุดใหม่
นำหนังดิบซึ่งฟอกมาแล้วจากองค์การฟอกหนัง
ลงแช่ในน้ำให้นุ่ม จากนั้นนำขึ้นมาแช่ลงในน้ำ
ที่ผสมน้ำส้มสายชู แช่ทิ้งไว้ประมาณ 4-5 ชั่วโมง
นำผืนหนังมาขึงบนสะดึงไม้ ตรึงด้วยตะปูเป็น
กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขึงหนังไว้ในที่ร่มจนแห้งสนิท
ก็พร้อมสำหรับนำมาปรุลายได้
4. การปรุลาย
ตัวหนังใหญ่ชุดเดิม

เครื่องมือที่ใช้ในการปรุลายมี 2 ประเภทคือ
- คือเครื่องตอก ใช้มุกมีลักษณะเป็นหลอดเหล็กกลวงปลายคม ตอกเดินลาย
- เครื่องตัด ใช้สิ่วชนิดต่างๆ เช่น สิ่วหน้าตัด สิ่วตัดเฉียง และสิ่วเล็บมือ ใช้ตัด กรีด และเฉือนตามลาย
ที่ต้องการ
เครื่องมือที่ใช้ในการปรุลายมี 2 ประเภทคือ
- เครื่องตอกเดินลาย ใช้ตุ๊ดตู่ขนาดต่างๆ
- เครื่องตัด ใช้มีดปลายแหลมขนาดเล็กคล้ายกระบอกปืน ตัดหรือเฉือนบริเวณที่ต้องการให้โปร่งเป็นช่องเพื่อความคล่องตัวในการใช้งาน ไม่ได้ใช้สิ่วตามแบบสมัยโบราณ

ตัวหนังใหญ่ชุดใหม่
5. การระบายสีตัวหนัง
สีที่ใช้ระบายตัวหนังใหญ่วัดขนอนเป็น
วัสดุธรรมชาติ เช่น
สีดำ : ได้จากเขม่าหรือขี้เถ้าของพืชบางชนิด
(เผาใบตองแห้งของกล้วยตานีให้เขม่า มาจับอยู่บนกระโจม)
สีเหลือง : ได้จากแก่นขนุน
สีแดง : ได้จากแก่นไม้ฝางนำมาต้มผสมสารส้ม
สีเขียว : ได้จากสนิมทองแดงหรือจุนสี
ผสมน้ำมะนาว
ตัวหนังใหญ่ชุดเดิม


ตัวหนังใหญ่ชุดใหม่
หนังใหญ่ชุดใหม่ของวัดขนอนต้องการใช้
สีแบบเดิมให้ได้มากที่สุด แต่จากการทดลอง
พบว่าไม่สามารถทำได้ จึงปรับเปลี่ยนวิธีการ
ผสมสีใหม่เพื่อให้ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด
เช่น
สีดำ : ใช้หมึกจีนผสมด้วยฝุ่นขาว และฝุ่นแดง
สีเหลืองแดง : ใช้แก่นไม้ฝาง แก่นขนุน
และน้ำยางรงผสมกัน
สีน้ำตาลแดง : ใช้หมากแห้งแช่เหล้า
สีเขียว : ได้จากสนิมทองแดงหรือจุนสี
ผสมน้ำมะนาว
6. การตัดเส้น

ตัวหนังใหญ่ชุดเดิม
การตัดเส้นตัวหนังใหญ่ชุดเดิม จริงๆ แล้วเกิดจากการร่างภาพด้วยเส้นสีขาว ลงบนผืนหนังที่ทาสีดำตลอดผืน แล้วจึงปรุภาพตามร่างเมื่อปรุเสร็จส่วนที่ต้องการ
ให้เป็นสีก็ขูดสีดำออกด้วยผิวไม้ลวกแล้วระบายสีไป
ส่วนที่เหลือที่เป็นสีดำจึงยังคงมีเส้นร่างสีขาวปรากฏอยู่
ใช้วิธีตัดเส้นเมื่อระบายสีเสร็จแล้วโดยตัดเส้น
เพื่อเน้นตัวภาพด้วยสีฝุ่นสีขาว ระบายเป็นส่วนๆ
ไปตามสีที่เห็นจากตัวหนังใหญ่ต้นแบบ จากนั้น
เคลือบด้วยน้ำยาเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้สีคงทน
และไม่หลุดลอกเมื่อถูกความชื้น

ตัวหนังใหญ่ชุดใหม่