อุโบสถ


แต่เดิมอุโบสถมีรูปแบบลักษณะใดไม่มีหลักฐานปรากฏต่อมาหลวงปู่กล่อม หรือพระครูศรัทธาสุนทร
(จนทโชโต) ได้บูรณปฏิสังขรณ์ซ่อม - สร้างเมื่อปีพ.ศ.2450 โบสถ์ใหม่ที่หลวงปู่กล่อมได้บูรณะสร้างขึ้น มีลักษณะคล้ายกับพระวิหารหลวงของวัดสุทัศน์เทพวราราม ลักษณะของพระอุโบสถเป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องลดหลั่นเป็นชั้น 3 ชั้น ซ้อนกัน
ชั้นละ 3 ตับ มีมุขลดหลั่นทั้งด้านหน้า และด้านหลังด้านละ 1 ห้อง โดยมีเสาสี่เหลี่ยม 4 ต้นรองรับ
โครงหลังคาด้านข้าง มีชายคาปีกนกคลุม มีเสาสี่เหลี่ยมรองรับด้านละ 9 ต้น ช่อฟ้า ใบระกาปูนปั้นประดับกระจก หน้าบันปูนปั้นลวดลายพันธุ์พฤกษาตรงกลางเป็นรูปวงกลมอุโบสถ กว้าง 29 เมตร
ยาว 58 เมตร
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาหินทรายแดง ประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย - ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านข้างซ้าย - ขวา มีพระอัครสาวก
ยืนพนมมือ ฐานชุกชีด้านหลังพระประธานประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย และปางสมาธิศิลปะรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 5 อีก 10 องค์ และพระอัครสาวกยืนพนมมือไหว้ระเบียงคดรอบอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูป 120 องค์ สร้างเมื่อประมาณสมัย
กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย